วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

งาน สัมมนา เรื่อง"หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน"

โดย นางสาวปรียาภรณ์ ภัยมณี


"หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน"

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว



พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


      เนื่องด้วยในเดือนสิงหาคมนี้เป็นวาระครบ ๙๕ ปีแห่งวันอภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพรรณี พระบรมราชินี และอีกทั้งในเดือนสิงหาคม ยังจัดเป็นเดือนวันสตรีไทยและแม่แห่งชาติอีกด้วย จึงทำให้ทางพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เห็นควรที่จะจัดโครงการสัมมนาเรื่อง "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน"

           เพศแม่เป็นสัญลักษณ์แห่งการให้กำเนิดและความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคคลาสสิกได้รับการยกย่องเป็นเทพีแห่งสงคราม เทพีแห่งการเยียวยา เทพีแห่งการล่าสัตว์ แม้แต่ในสังคมอินเดีย เทพีหลายองค์ทรงเป็นศักติ หรือ พลังของเทพเจ้าสำคัญจำนวนไม่น้อยตามความเชื่อหลายลัทธิ

          ผู้หญิงได้รับการปฏิบัติแตกต่างกันออกไปทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก ตามความเชื่อทางศาสนาและค่านิยมในสังคม แต่หลังจากผ่านหนาวมาจนถึงวัยอาวุโสสูงสุด สตรีเพศทั้งในสังคมจีนและอินเดีย อาจมีสถานภาพเป็นผู้ชี้ทางอนาคตของครอบครัวบนสถานภาพของการเป็น "ผู้รู้และผู้สืบทอดภูมิปัญญา" ทั้งในเรื่องความเป็นอยู่และพิธีกรรมของครอบครัว โดยมีศาสนาและความเชื่อเป็นสายธารเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม

โครงการสัมมนาด้วย นักวิชาการ 2 ท่าน

ในสังคมไทย เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีเศษที่ผ่านมา พฤติกรรมของผู้หญิงตัวเล็กๆ หลายคน อาจส่งผลกระทบไปถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของกระบวนการยุติธรรม โดยรวมอย่างคาดไม่ถึงอาทิ ในกรณีของอำแดงป้อมผู้เป็นสาเหตุให้ร้อนถึงพระเนตร พระกรรณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงกับต้องชำระพระราชบัญญัติ อันเป้นต้นเค้าของกฎหมายตราสามดวงในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
 
              ฎีกาที่  "ขัดฝืน"  ผู้หญิงที่น่าสงสารอย่าง "อำแดงเหมือน" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงกับการส่งผลให้ประเพณีการคลุมถุงชนในสังคมไทยเสื่อมคลายภายใต้พระราชวินิจฉัยว่า "การแต่งกายของชายหญิงต้องเกิดจากความสมัครใจ"  อีกทั้งยังส่งผลให้มีการประกาศพระราชบัญญัติลักพา พ.ศ. ๒๔๐๘ และพระราชบัญญัติผัวขายเมีย พ.ศ.๒๔๑๐ อันเป็นการปูพื้นฐานสิทธิมนุษยชนและการเลิกทาสในรัชสมัยต่อมา ทำให้คำกล่าวที่ว่า "ผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน " ในอดีตเลือดหายไปจากความทรงจำของผู้คนในสังคม

การแต่งกายของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพรรณี พระบรมราชินี

ในยุคปลายสังคมจารีตสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระบ่ทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างของการยกย่องสถานภาพของสตรี ตามค่านิยมของ "สังคมผัวเดียวเมียเดียว" แบบตะวันตก โดยทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพรรณี  พระบรมราชินีแต่เพียงพระองค์เดียว พระราชจริยาวัตรนี้ส่งผลระดับหนึ่งต่องสถาบันครอบครัวในเวลาต่อมา


 ม. ศิลปกร มีการบันเลงเพลงในรัชกาลที่ 7

แต่เป็นที่น่าแปลกในที่สังคมไทยแม้จะให้ความสำคัญต่อคำสาบาน  ดังพันธะที่มีต่อพระราชพิธีศรีสัจปานกาลมาแต่ครั้งอดีต  กลับไม่เคยแยแสต่อการสาบานว่าจะซื่อสัตย์ต่อคู่สมรสจนกว่าจะตายจากไป

              ร่องรอยการให้  "เครดิต" แก่ผู้หญิงครั้งสำคัญที่สุดในยุคเปลี่ยนผ่านสู่สังคมประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ปรากฎในธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฉบับแรก กำหนดให้ผู้หยิงไทยได้รับสิทธิทางการเมืองเท่าเทียมกับผู้ชาย ขณะที่สตรีหลายชาติทั้งในโลกตะวันตกที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว กลับยังไม่ได้สิทธิดังกล่าว

              ในขณะที่สังคมโลกตระหนักถึงสิทธิสตรี ทั้งรัฐไทยและสังคมไทยดดยรวม ทัศนะที่มีต่อผู้หญิงมีพัฒนาการอย่างไรบ้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๗ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมการเมือง นิติบัญญัติ และวัฒนธรรมส่งผลกระทบต่อบทบาทของผู้หญิงอย่างไร ปัจจัยเกื้อหนุนและบั่นทอนย้อนกลับต่อบทบาทของผู้หยิงอันเนื่องมาจากกฎหมายบางอย่าง และขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้หยิงเกิดจากตัวแปรหลายอย่าง

  
 เพื่อนๆที่ไปสัมมนาในครั้งนี้

การอ้างความรักความหึงหวงแล้วแปรเปลี่ยนมาเป็นการทำร้ายคนเพศแม่อย่างโหดร้าย  การลดความสำคัญของสตรีหลังการแต่งงาน ทำให้ผู้หยิงขาดโอกาสทางเศรษฐกิจ ถึงจะเป็นอย่างนั้นก็ตาม สิทธิทางการเมืองและการศึกษาก็ทำให้สตรีจำนวนไม่น้อยประสบความสำเร็จในวิชาชีพของตน

บทบาทของสตรีไทยในอดีต

         สตรีไทยมีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่อดีต  ในทางการเมืองสตรีไทยในประวัติศาสตร์หลายคนได้มีบทบาทในการสร้างชาติไทย  เช่น  พระสุพรรณกัลยา  พระพี่นางของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ทรงเสียสละพระองค์เป็นองค์ประกันที่เมืองหงสาวดี  เพื่อแลกกับอิสรภาพของสมเด็จพระนเรศวรที่จะมากอบกู้เอกราชให้กับกรุงศรีอยุธยาในวันข้างหน้า


         ในสมัยรัตนโกสินทร์  สตรีไทยหลายคนได้มีบทบาทในการต่อสู้ทำสงครามเพื่อปกป้องบ้านเมือง  เช่น  คุณหญิงจัน  ภรรยาเจ้าเมืองถลาง (ภูเก็ต)  และนางมุกน้องสาว  ได้นำชาวบ้านเมืองถลางต่อสู้ต้านทานกองทัพพม่าเมื่อครั้งสงครามเก้าทัพในสมัยรัชกาลที่ 1  มีความดีความชอบจนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทรตามลำดับ

          ในสมัยรัชกาลที่ 3  คุณหญิงโม  ภรรยาของปลัดเมืองนครราชสีมา  ได้ใช้อุบายโดยให้หญิงชาวบ้านเลี้ยงสุราอาหารแก่ทหารลาว  ทำให้กองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ตายใจและปล่อยปละละเลยความปลอดภัยของค่ายทัพ เมื่อได้โอกาสก็นำอาวุธเข้าต่อสู้กับทหารฝ่ายลาวจนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากและแตกทัพหนีไปทำให้ฝ่ายไทยสามารถเอาชนะได้  ต่อมาคุณหญิงโมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นท้าวสุรนารี

  การแต่งกายในอดีต
นอกจากนี้  เจ้านายสตรีบางพระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  ครั้งแรกคือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอัครราชเทวีเป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระบรมราชินีนาถ  ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 พ.ศ. 2440 และครั้งที่ 2 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกผนวชเมื่อพ.ศ. 2499ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

ในสมัยปัจจุบัน  มีสตรีไทยจำนวนมากได้มีบทบาททางการเมือง  เช่น  เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  รัฐมนตรี นอกจากนี้ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนยังมีสตรีที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ  เช่น  ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  เป็นต้น

ในด้านสังคมและวัฒนธรรม  สตรีไทยหลายท่านมีบทบาทด้านการประพันธ์  เช่น กรมหลวงนรินทรเทวี  (เจ้าครอกวัดโพ)  พระน้องนางเธอในรัชกาลที่ ทรงประพันธ์จดหมายเหตุความทรงจำ  บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2310 ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าจนถึง พ.ศ. 2363  ในช่วงกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  นับเป็นการบันทึกข้อมูลประวัติศาสตร์ที่สำคัญสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

การประกอบอาชีพในอดีต

นอกจากนี้  คุณพุ่มหรือบุษบาท่าเรือจ้าง  ธิดาของพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี)  เป็นกวีหญิงที่มีความรู้ความสามารถ  เป็นศิษย์คนสำคัญของสุนทรภู่  และคุณสุวรรณ  ธิดาพระยาอุไทยธรรม (สกุล ณ บางช้าง)  และเป็นข้าหลวงกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ  ก็ได้เป็นศิษย์ของสุนทรภู่ด้วยเช่นกัน  ผลงานที่สำคัญ  เช่น  เพลงยาวจดหมายเหตุเรื่องกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพประชวร  บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ  และบทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่อง  ดอกไม้สดประพันธ์เรื่องชัยชนะของหลวงนฤบาลผู้ดี  และจิรนันท์  พิตรปรีชา  ได้รับรางวัลกวีซีไรต์  




     ซึ่งโครงการสัมมนานี้ได้มีการเชื่อมโยงเกี่ยวกับเนื้อหานิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการเผยแพร่พระราชประวัติและพระราชกรณีกิจสำคัญในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น