วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บุคคลสำคัญของเอเชีย

โดย ปรียาภรณ์ ภัยมณี

ลีกวนยู

กวนยู   นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศสิงคโปร์เขาเป็นผู้เปิดประเทศสิงคโปร์ให้ทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศและอาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์ด้วย ไปในตัว ด้วยเหตุที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ถึง 31 ปี เขาเป็นคนพาสิงคโปร์สู่ประเทศที่ร่ำรวยโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ ทศวรรษ ต่างกับชาติอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถได้ถึงขนาดนี้ เศรษฐกิจในสมัยท่านของสิงคโปร์ จึงรวดเร็วแบบก้าวกระโดด รวมถึงการศึกษาโดยยึดแบบมาจากชาติยุโรป ทำให้มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์ส่วนใหญ่ติดอันดับต้นๆ ของมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของเอเซียและของโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกมากสำหรับประเทศที่เป็นอาณานิคมของชาติยุโรปแล้วจะสามารถเจริญได้มากกว่าชาติไหนๆ ของโลก เขาจึงเป็นรัฐบุรุษคนสำคัญของสิงคโปร์ และเป็นหนึ่งในบุคคลทรงอิทธิพลที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ลี กวนยู ยังมีลูกชายเป็นผู้สืบเจตนารมณ์ ต่อจากท่าน ชื่อว่า ลี เซียนลุง ซึ่งเป็นนายกคนปัจจุบันของสิงคโปร์


                 ชื่อ ลี กวน ยู” (Lee Kuan Yew) ถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ว่า เขาคือผู้กุมอำนาจบริหารของสิงคโปร์มายาวนายถึง 31 ปี ชาวสิงคโปร์ไม่เคยลืมว่า อดีตผู้นำประเทศผู้นี้คือผู้นำพาให้สิงคโปร์ก้าวลำพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดดที่มีความร่ำรวยมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลกในยุคที่ลีกวนยูบริหารประเทศภายใต้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แม้จะเคยมีคนตราหน้าว่าเขาคือนักเผด็จการตัวจริงในระบบอประชาธิปไตยก็ตาม

ลีกวนยูมีเชื้อสายจีนแคะที่บรรพบุรุษอพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยนใน จีน แผ่นดินใหญ่ เขาเกิดในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2466 ในยุคที่สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศอาณานิคมของอังกฤษ และได้เข้าศึกษาที่ “Raffles College” ซึ่งเป็นวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดใน บริติส มาลายาของสิงคโปร์ ทำให้เขาได้รับการปลูกฝังและมีแนวความคิดตามแบบชาวตะวันกตมาตั้งแต่เด็ก

การเข้าศึกษาในวิทยาลัยแห่งนี้ทำให้ลีกวนยูได้เป็นเพื่อร่วมรุ่นกับ ตนกู อับดุล รามานซึ่งเคยตำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซียในยุคก่อนหน้าที่ ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัดจะขึ้นกุมอำนาจยาวนายในมาเลเซีย

แต่แล้วชีวิตการศึกษาของลีกวนยูในวัย 19 ปีก็หยุดชะงักลงด้วยพิษสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นประกาศสงครามกับอังกฤษและเข้ารุกรานเพื่อยึดครองสิงคโปร์ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศอาณานิคมของอังกฤษเวลานั้น การที่ได้เห็นกองทัพญี่ปุ่นแข็งแกร่งและมีชัยชนะเหนืออังกฤษทำให้ลีกวนยูจุดประกายความคิดขึ้นว่า แท้จริงแล้วคนเอเชียก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าฝรั่งผิวขาวตาน้ำข้าวจากซีกโลกตะวันตกเลย เขาเปลี่ยนทัศนคติจากเดิมจากที่เคยคิดว่าคนเอเชียด้วยกว่าจนถูกล่าอาณานิคมเป็นว่าเล่น เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นอีกหนึ่งในจังหวะชีวิตของลีกวนยูเพราะเขาเริ่มหันมาสนใจงานด้านการเมืองและเริ่มมีแนวคิดที่จะต่อสู้เพื่ออิสรภาพ จนเมื่อสงครามจบลงลีกวนยูจึงได้เดินทางไปศึกษาด้านกฏหมายที่ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในประเทศอังกฤษ และได้พบกับ กว่าก๊อกชูซึ่งเดินทางมาเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เช่นกันก่อนจะแต่งงานกันในเวลาต่อมา

ความคิดเรื่องการต่อสู้เพื่ออิสระภาพของลีกวนยูคุกรุ่นขึ้นเมื่อ ชาวมาลายันส่วนใหญ่เริ่มตีแผ่ถึงความไม่พอใจในการปกครองประเทศอาณานิคมของอังกฤษ เขาจึงตัดสินใจเข้าร่วมใน Malayans Forum เพื่อมีบทบาทในการตอบโต้กับประเทศอังกฤษเพ่อการเป็นอิสระจากอาณานิคมครั้งนี้

ลีกวนยูกลับมายังสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2493 และตัดสินใจตั้ง พรรคกิจประชาชนในปี พ.ศ. 2497 โดยชนะการเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2502 ขณะนั้นเขามีอายุเพียง 36 ปีเท่านั้น หลังจากมาเลเซียได้อิสรภาพจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2504 ลีกวนยูจึงหันมาเจรจากับเพื่อนเก่าในวัยเรียนอย่าง ตนกู อับตุล รามาน เพื่อต้องการอิสรภาพนี้เช่นเดียวกัน โดยมีแนวความคิดร่วมกันว่าจะรวมสิงคโปร์เข้ากับมาเลเซียให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะเล็งเห็นว่าสิงคโปร์นั้นไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่จะเกื้อหนุนให้เกิดการพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นประเทศที่พร้อมสมบูรณ์ในทุก ๆ ด้านได้ แนวความคิดนี้สำเร็จในปี พ.ศ. 2505 แต่แล้ว 2 ปีให้หลังก็ถูกต่อต้านจากชาวมาเลเซียที่ไม่ต้องการให้ชาวสิงคโปร์ซึ่งมีวัฒนธรรมที่แตกต่างจากมาเลเซียนั้นเข้ามาอยู่ร่วมกับพวกตน ในขณะที่ชาวสิงคโปร์ก็ไม่ได้ชอบใจนักกับการถูกเหยียดชนชั้นจึงกลายเป็นการจลาจลครั้งใหญ่ ในที่สุดสีกวนยูก็ตัดสินใจนำสิงคโปร์แยกออกจากมาเลเซีย และตัดสินใจประกาศอิสรภาพไม่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษอีกต่อไปตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา


แม้ในช่วงแรกของการบิหารประเทศภายใต้พรรคกิจประชาชนจะไม่ราบรื่นนักและมีแนวโน้มจะถูกพรรคฝ่ายตรงข้ามโค่นล้มอำนาจ แต่ลีกวนยูก็ยังสามารถพัฒนาและนำพาสิงคโปร์ให้ไต่อันดับความน่าเชื่อถือในทุก ๆ ด้านบนเวทีโลกได้สำเร็จ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจเขาสร้างความมั่งคั่งให้ชาติและสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับประชากรชาวสิงคโปร์จนในที่สุดสิงคโปร์ก็ได้เทียบชั้นแตะระดับการเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกได้สำเร็จ

ผลงานทั้งหลายรวมถึงนโยบายการบริหารประเทศของลีกวนยูทำให้เขาได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรียาวนายสืบมา แม้จะมีบางเสียงกล่าวว่าการบริหารของเขาคล้ายระบอบเผด็ดการที่รัฐบาลมักจัดสรรทุกสิ่งทุกอย่างแบบเบ็ดเสร็จ อีกทั้งยังออกกฎหมายที่เข้มงวดในการปกครองและดูแลประชาชนจนเป็นที่โจษจันไปทั่วโลกถึงความเด็ดขาดของกฎหมายในสิงคโปร์ ตั้งแต่เรื่องที่ดูเหมือนเล็กน้อยอย่างการมักง่ายทิ้งขยะเลอะเทอะก็จะถูกรัฐปรับเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก ไปจนถึงเรื่องใหญ่อย่างการข้องเกี่ยวกับยาเสพติดที่ระบุโทษแขวนคอโดยไม่ต้องอุทรใด ๆ ทั้งสิ้น เช่นเดียวกับบทลงโทษของผู้ที่คดโกงและคอรัปชั่นเงินแผ่นดินก็จะถูกลากไปแขวนคอเช่นกัน

ทุกวันนี้สิงคโปร์ประสบความสำเร็จในการเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับนานาชาติ กลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจ ศูนย์กลางการเงินการธนาคารโลก เมืองท่าและศูนย์การพาณิชย์ ตลาดหุ้น ศูนย์การแห่งการท่องเที่ยวที่ทันสมัยในภาคพื้นเอเชีย ทั้ง ๆ ที่สิงคโปร์ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติใด ๆ ในกำมือเลย

จึงถือได้ว่าลีกวนยูมีความเฉียบคมในการบริหารประเทศเขาวางกลยุทธ์การศึกษาให้กับเยาวชนโดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนคือด้านภาษา ที่ส่งเสริมทั้งภาษาจีนกลาง ภาษาอังกฤษ และภาษาอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีความเกี่ยวข้องกับสิงคโปร์ในแง่การค้าการลงทุน ที่สำคัญคือเทคโนโลยีล้ำยุคจากฟากฝั่งยุโรปและอเมริกาก็ได้รับการเผยแพร่ในสิงคโปร์ จนประชากรมีความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีกันอย่างคุ้นเคย รวมทั้งยังไม่ลืมส่งเสริมความรู้ด้านวัฒนธรรมของรากเหง้าแห่งชนชาติบรรพบุรุษ ทั้งหมดนี้ทำให้สิงคโปร์ที่เดิมเคยเป็นประเทศที่ไม่มีอะไรเลย กลายเป็นมาเป็นหนึ่งในประเทศแถวหน้าของโลก และแข็งแกร่งเป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มเอเชียที่ได้รับการยอมรับของชาวโลกมาจนถึงทุกวันนี้

มองสิงคโปร์ ผ่านความสำเร็จที่โดดเดี่ยวของลี กวน ยู
เหรียญอีกด้านหนึ่งของสิงคโปร์ ประเทศที่ก้าวกระโดดจากไม่มีอะไรเลย ภายใต้การนำของรัฐบุรุษ ลี กวน ยู กับความพยายามที่ท้าทายของเขา ในการรักษาเกาะเล็ก ๆ นี้ไว้ ให้ยิ่งใหญ่จนวันสุดท้ายของชีวิต



ลี กวน ยู : รัฐบุรุษที่ยังมีชีวิต

หลายคนคงจำได้ว่าเมื่อ 2 เดือนก่อน ลี กวน ยู ได้กล่าวกับนักข่าวต่างประเทศ ว่า การเมืองของสิงคโปร์นั้นพัฒนาไปไกล และเขาได้เปรียบเทียบประเทศไทย และฟิลิปปินส์ ว่าการเมืองกำลังถอยหลังเข้าคลอง เพราะสื่อมีเสรีภาพมากเกินไป และล่าสุด ในบทความเรื่อง "Tribulations of Two Emerging Democracies" ที่ตีพิมพ์ในนิตยสารฟอร์บส์ ลี กวน ยู เปรียบเทียบการเมืองไทย กับอิรัก ว่ากำลังผ่านช่วงเวลาที่รุนแรงและยากลำบาก ทั้งยังมีอะไรต้องเรียนรู้อีกมาก เพื่อจะบรรลุถึงทางออกอย่างที่ฝันไว้ของทั้ง 2 ประเทศ

บุรุษผู้ซึ่งเปรียบเสมือนบิดาของประเทศที่เดิมเป็นเกาะเล็กๆ ยากจน และโดดเดี่ยว ภายหลังการแยกตัวเป็นเอกราชจากมาเลเซีย เมื่อ 41 ปีก่อน สิงคโปร์ภายใต้การนำของ ลี กวน ยู ผู้ที่มีประวัติการศึกษาอันดีเยี่ยมและเริ่มต้นจากการเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ให้กับสหภาพแรงงานคอมมิวนิสต์ แต่หันกลับมาหาเทคโนโลยี และทุนนิยม ผู้ซึ่งทุ่มเทกับการศึกษา และพัฒนาคน จนทำให้สิงคโปร์ในวันนี้ กลายเป็นประเทศที่ร่ำรวย และมีความสามารถในการแข่งขัน เหนือกว่าทุกประเทศในยุโรป ทุกครั้งที่เขาพูด โลกก็จะหยุดฟังเสมอ

หากวิเคราะห์ให้ดีแล้ว ลี กวน ยู เป็นเหมือนการผสมผสานคุณลักษณะ และบุคลิกพิเศษของอดีตนายกรัฐมนตรีไทย 3 ท่าน คนแรกคือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในแง่มุมของความเด็ดขาด และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ขณะเดียวกัน ก็มีลักษณะของความเป็นเผด็จการแบบคณาธิปไตยอยู่ในตัว คนที่ 2 คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในแง่มุมของการเป็นนักปราชญ์ผู้รอบรู้ และมีวาทศิลป์อันเป็นเลิศ คนสุดท้าย คือ คุณอานันท์ ปันยารชุน ตรงที่มีลักษณะของการเป็นผู้นำที่มีบารมี , ซื่อสัตย์ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สำหรับคนสิงคโปร์แล้ว ลี กวน ยู นั้น เป็นยิ่งกว่ารัฐบุรุษ

เหรียญอีกด้านหนึ่งของสิงคโปร์

การมองสิงคโปร์ ในแง่ความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจเพียงด้านเดียวนั้น อาจจะเป็นการมองที่แคบเกินไป ยังมีคำถามตามมาว่าความสำเร็จที่ปรากฏอยู่นั้น จะยั่งยืนแค่ไหน ประเทศที่มีประชากร 4.5 ล้านคน และขนาดใกล้เคียงกับเกาะภูเก็ตแห่งนี้ มีรายได้หลักมาจากการค้าระหว่างประเทศ , ท่าเรือน้ำลึก และการกลั่นน้ำมัน ลองจินตนาการว่าจะเกิดอะไรขึ้น หากประเทศไทยมีการขุดคอคอดกระในวันข้างหน้า เศรษฐกิจสิงคโปร์จะล้มพับลงโดยไม่มีฐานใดรองรับ เพราะประเทศไร้ทรัพยากรธรรมชาติ แม้แต่การเพาะปลูกเพื่อเลี้ยงตัวเอง ก็ยังไม่สามารถจะทำได้

การที่พรรครัฐบาลคือ PAP บริหารประเทศต่อเนื่องยาวนานถึง 41 ปี โดยทายาทรุ่นที่ 2 ของตระกูลลี ในปัจจุบัน ก็ยังยืนยันแนวคิดที่ให้ รัฐบาลเข้าไปเป็นเจ้าของธุรกิจเสียเอง ไม่ว่าจะเป็นสายการบิน , โทรคมนาคม , ขนส่ง , ธนาคาร , อู่ต่อเรือ , อิเล็กทรอนิกส์ , บริษัทน้ำมัน และการเดินเรือ เป็นต้น รวมกันแล้วคิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% ของธุรกิจทั้งหมดในสิงคโปร์ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ ทำให้สิงคโปร์ขาดลัทธิของความเป็นผู้ประกอบการ มีกิจการธุรกิจมากมายของรัฐบาล ที่มีปัญหาด้านต้นทุนสูง , ความไม่มีประสิทธิภาพ และผลประกอบการไม่ดีเท่าที่ควร

ในแง่สังคม การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด ทำให้ผู้คนหวาดกลัวที่จะกระทำผิด การควบคุมเสรีภาพสื่อ ทำให้การแสดงความคิดเห็นที่ตรงข้ามกับรัฐบาลนั้น เป็นสิ่งที่อันตราย ขณะเดียวกัน แม้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนสิงคโปร์จะสูง แต่ก็ต้องแบกรับต้นทุนค่าครองชีพที่สูงตามไปด้วย เป็นเรื่องยากสำหรับชาวสิงคโปร์ ที่จะมีรถยนต์ และบ้านเป็นของตนเอง คนส่วนใหญ่ต้องอาศัยในอพาร์ตเมนต์เล็กๆ เพราะพื้นที่มีจำกัด ผลการสำรวจล่าสุด ชี้ให้เห็นว่า คนสิงคโปร์ต้องการที่จะอพยพออกนอกประเทศเป็นการถาวรมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีความรู้สูง

ความสำเร็จที่โดดเดี่ยวของ ลี กวน ยู

ในชั่วอายุคนรุ่นเดียวเท่านั้น ที่คนสิงคโปร์ต้องร้องเพลงชาติมาแล้วถึง 3 ประเทศ คือ "ก็อด เซฟ เดอะ ควีน" ของอังกฤษ , "คิมิกาโย" ของญี่ปุ่น และ "เนการา กู" ของมาเลเซีย ก่อนที่จะมีเพลงชาติเป็นของตัวเอง สิงคโปร์ไม่เคยมีวัฒนธรรมเป็นของตน ไม่มีภาษา , วรรณกรรม , เพลงพื้นบ้าน หรือสถาปัตยกรรม ที่สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นชาติได้เลย คนสิงคโปร์มักไม่มองย้อนกลับไปถึงอดีตที่เจ็บปวดในยุคที่เคยเป็นอาณานิคม และยากจนมาก่อน ทว่าจะภูมิใจกับความสำเร็จในปัจจุบัน และถวิลหาอนาคตที่รุ่งโรจน์ในวันข้างหน้า

มนุษย์ชอบสร้างอัตลักษณ์ให้คนจดจำได้ ลี กวน ยู ก็สร้างตัวเองให้ดูสูงส่ง และยิ่งใหญ่ โดยใช้คณาธิปไตยเป็นเครื่องมือ ทิ้งรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยให้เป็นเพียงสัญลักษณ์ การที่เขาไม่ต้องเผชิญจุดจบอย่างมาร์กอส แห่งฟิลิปปินส์ และเชาเชสกู แห่งโรมาเนีย เพราะความซื่อสัตย์ และชาติที่เขาสร้างขึ้นมานั้นก็เติบโตอย่างยิ่งใหญ่

แต่บนความสำเร็จนั้น สิงคโปร์กลับถูกมอง อย่างหวาดระแวงจากเพื่อนบ้าน ลี กวน ยู ก็คงไม่ต่างกับ โฮเวิร์ด ฮิวจ์ ในหนังเรื่อง The Aviator ที่พบว่าเมื่อตัวเองบินขึ้นมาได้สูงเพียงไร ในความรู้สึกยิ่งกลับอ้างว้าง และโดดเดี่ยวเหลือเกิน  (บทความนี้ ผมเขียนตั้งแต่ 4 ก.ค. 2549 และตีพิมพ์ครั้งแรก ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)


ลีกวนยู มีหนังสืออัตชีวประวัติซึ่งควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ยุคใหม่อย่างปฏิเสธไม่ได้สองเล่มด้วยกัน คือ The Singapore Story : Memoirs of Lee Kuan Yew และอีกเล่ม From Third World to First : The Singapore Story: 1965-2000



หนังสือ From Third World to First : The Singapore Story: 1965-2000 จากบล็อก second shot

โดยเฉพาะหนังสือเล่มหลัง พูดถึงการสร้างตัวของสิงคโปร์จากประเทศกำลังพัฒนา ไร้ทรัพยากร ไร้กำลังทหารที่เข้มแข็งขึ้นเป็นประเทศที่มีระดับการครองชีพทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ในหนังสือเล่มนี้ ลีกวนยู ยังพูดถึงอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยอย่างพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี) ในแง่บวกด้วยว่า

He was a steady and reliable leader who held to a consistent policy, a man of few words, no scholar, but practical. He enjoyed the king’s trust. His command of English was not as good as Kukrit’s, but he had the better strategic sense. His neat dress and manners reflected his self-discipline and an abstemious, almost austere lifestyle. The personal chemistry between us was good. From time to time he would not look closely and seriously at me to say, “I agree with you. You are a good friend of Thailand.”

รวมทั้งยังมีการกล่าวถึง พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ คู่บุญพลเอกเปรม (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งองคมนตรี) และอดีตหัวหน้าพรรคกิจสังคม ในขณะนั้นด้วยว่า

But Siddhi had more than brains. Able and firm, he had a strong character and constancy of purpose. He was of mixed Thai and European descent, fair-complexioned, with Eurasian features, but was accepted by the Thais as a loyal Thai. He knew the Vietnamese were wily, and he saw through every manuevre they made.
.
Without Prem as prime minister and Siddhi as foreign minister, we would not have been able to cooperate so closely and successfully to tie the Vietnamese down in Cambodia. The two were a good team that secured Thailand’s long-term security and economic development. Without them, the Vietnamese could have succeeded in manipulating the Thai government.

การวิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศ และกรอบคิดแบบภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ในสมัยสงครามเย็น ว่า เมนเตอร์ลีวิเคราะห์ได้ลึกซึ้งแล้ว แต่บทสนทนากับ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา คนปัจจุบัน นาย เจมส์ สไตน์เบิร์ก (อดีตคณบดี วิทยาลัยกิจการสาธารณะ ลินดอน บี จอห์นสัน จากมหาวิทยาลัยเท็กซัสแห่งออสติน และอดีตนักวิเคราะห์ประจำสถาบันคลังความคิด

“Rand Corporation” ที่ Wikileaks นำเอกสาร Cables ที่รั่วไหลมาเผยแพร่นั้น ยิ่งลึกซึ้งไม่น้อย ที่สำคัญเป็นการแสดงทัศนะของ เมนเตอร์ลีในระยะเวลาที่ไม่นานนี้เองด้วย (เอกสารฉบับนี้ถูกส่งจาก สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำสิงคโปร์ตั้งแต่พฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน 2552 มื่อเวลา 09.08 นาฬิกา)

ประเด็นในการสนทนาที่ Cables สรุป
1. เกาหลีเหนือกับอาวุธนิวเคลียร์
ในความเป็นจริงรัฐบาลจีนไม่ต้องการให้เกาหลีเหนือครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ แต่ในขณะเดียวกันจีนก็มองว่าเกาหลีเหนือเป็นรัฐกันชน จึงไม่ต้องการให้เกาหลีเหนือต้องล่มสลายลงไป หากเกาหลีใต้ผนวกเกาหลีเหนือรวมเป็นชาติเดียวกันได้ จีนจะต้องเผชิญกับกองกำลังของสหรัฐอเมริกาประชิดพรมแดนของตนทันที ดังนั้นถ้าหากเลือกได้ จีนมองว่าเกาหลีเหนือที่มีอาวุธนิวเคลียร์ก็ยังแย่น้อยกว่า เกาหลีเหนือที่ล่มสลายไปแล้ว

2. ความโดดเดี่ยวของรัฐบาลเกาหลีเหนือ
ในระหว่างที่ เมนเตอร์ลีสนทนากับ รองผู้บัญชาการกองทัพปลดปล่อยจีน (PLA) นายพล หม่าเซียวเทียน ได้ตอบคำถามของ เมนเตอร์ลีที่ว่า จีนจะทำอะไรกับเกาหลีเหนือโดยนายพลหม่าได้ตอบว่า พวกเขาสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองซึ่ง เมนเตอร์ลีตีความว่า ต่อให้จีนตัดความช่วยเหลือเกาหลีเหนือ รัฐบาลเปียงยางก็ยังอยู่ได้ นี่เป็นรัฐบาลที่สังหารสมาชิกคณะรัฐมนตรีเกาหลีใต้ในพม่า และยิงเครื่องบินสายการบินเกาหลีตก ถ้าพวกเขาสูญเสียอำนาจย่อมต้องเผชิญกับศาลอาชญากรสงครามที่กรุงเฮก เช่นเดียวกับนายพลมิโลเซวิคแห่งยูโกสลาเวีย

เกาหลีเหนือโดดเดี่ยวตนเองมานานเกินกว่าที่จะมีเพื่อนที่แท้จริงแม้แต่รัสเซีย พวกเขายังไม่ไว้วางใจจีนเพราะในระยะหลังจีนก็เริ่มมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตามหากเกาหลีเหนือจะเปลี่ยนทิศทางอันแข็งกร้าวของตนลงก็ยังคงเป็นไปได้ ไม่เช่นนั้นพวกเขาก็จะต้องเผชิญหน้ากับ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เมนเตอร์ลียังมองว่าถึงอย่างไรเกาหลีเหนือก็ยังตกอยู่ภายใต้การควบคุมปิดล้อมได้ ซึ่งต่างจากรัฐบาลอิหร่านที่มีความทะเยอทะยานสูงกว่ามาก อิหร่านยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชุมชนชีอะต์นอกประเทศ และยังมีความมั่งคั่งจากทรัพยากรน้ำมัน

3. ญี่ปุ่นจะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
การตัดสินใจของเกาหลีเหนือย่อมมีผลกระทบกับญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นอาจจะหาทาง พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ในอนาคต อย่างไรก็ตามจีนได้คาดคำนวณความเป็นไปได้นี้เอาไว้แล้ว และมีข้อสรุปว่าการปล่อยให้ญี่ปุ่นมีนิวเคลียร์ก็ยังดีกว่า การสูญเสียเกาหลีเหนือในฐานะรัฐกันชน กระนั้นหลังจากผู้นำเกาหลีเหนือผลัดเปลี่ยนอำนาจอีกภายในสองสามปีข้างหน้า เกาหลีเหนืออาจมีทิศทางของประเทศในทิศทางใหม่กับผู้นำใหม่ แต่เกาหลีเหนือก็ยังเป็นเกาหลีเหนืออยู่นั่นเอง

4. เกาหลีเหนือจะไม่เปลี่ยนไปมากแม้ถูกกดดัน
เกาหลีเหนือจะไม่ยอมทิ้งอาวุธนิวเคลียร์ของตนง่าย ๆ แม้จะเผชิญแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกา เพราะนี่จะเป็นข้อต่อรองที่ได้ผลที่สุด รัฐบาลและความเป็นอยู่ของประชาชนเกาหลีเหนือจะไม่เปลี่ยนไปมากนัก เมนเตอร์ลีบอกว่าเขาได้เรียนรู้จากสมัยที่ญี่ปุ่นยึดครองสิงคโปร์ว่า ประชาชนจะยอมสยบต่อระบอบการปกครองที่ควบคุมไม่ให้ อาหาร เสื้อผ้า และยารักษาโรค กับพวกเขาเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองจีน



5. เศรษฐกิจอันแข็งแกร่งของจีน
แม้จะประสบวิกฤตเศรษฐกิจโลก และประสบกับความถดถอยด้านการส่งออก อาทิเช่น การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่เซี่ยงไฮ้ลดลงไปถึง 30-35 % เช่นเดียวกับสิงคโปร์ แต่ก็ไม่มีสัญญาณความไม่สงบในจีน และจีนยังมั่นใจว่า GDP จะเติบโตในระดับ 8% ต่อปี ขณะนี้รัฐบาลจีนกำลังทุ่มทรัพยากรอย่างมากในการปรับปรุงโครงสร้างทางฝั่งตะวันตกของประเทศ แต่ไม่มีความแน่นอนว่านโยบายนี้จะยั่งยืนไปในระดับ 3-4 ปีหรือไม่ แต่อย่างน้อยจีนก็ยังใช้นโยบายนี้ต่อไปอีกอย่างน้อย 1 ปี

6. ลักษณะโครงสร้างเศรษฐกิจจีน
เนื่องจากจีนไม่มีระบบสวัสดิการสังคมทำให้อัตราการออมจีนสูงมากในระดับ 55% ซึ่งเกินกว่าอัตราการออมของสิงคโปร์ที่ระดับ 50% ในขณะที่จีนมีอัตราการบริโภคภายในที่ 35% ต่อ GDP เทียบกับสหรัฐอเมริกาที่ 70% ต่อ GDP จีนอาจหันไปใช้การพัฒนาเศรษฐกิจแบบมีการบริโภคเป็นตัวนำ แต่รัฐบาลอาจพิจารณานโยบายนี้เพียงชั่วคราวเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความไม่สงบภายใน ประชากรจำนวน 20 ล้านคนกำลังโยกย้ายกลับไปอยู่ชนบทเพราะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลสนับสนุนโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อการโยกย้ายดังกล่าว ในตอนนี้จีนไม่ได้คำนึงถึงระบอบคอมมิวนิสต์อะไรมากมายอีกต่อไปแล้ว แต่จีนมีลักษณะสัมฤทธิผลนิยมมากขึ้น และต้องการประคองระบอบการปกครองแบบพรรคเดียวเอาไว้ การที่จีนใช้นโยบายเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษกิจในระยะยาวเช่นนี้ อาจไม่นำไปสู่การปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างแท้จริง แต่เมื่อมองจากมุมทางการเมืองนี่ก็เป็นเรื่องจำเป็นในสายตาจีน เพื่อป้องกันการก่อจราจลภายใน ดังเช่นที่เกิดขึ้นไปแล้วที่กวางเจา เมื่อเดือนมีนาคม (2552) เมื่อกิจการฮ่องกงที่มาลงทุนปิดกิจการ

7. นโยบายจีนต่อไต้หวัน
นโยบายของ ประธานาธิบดีหูจิ่นเทา ต่อกรณีไต้หวันนั้นมีความอดกลั้นและยืดหยุ่นกว่าสมัยอดีตประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมินมาก และจีนจะพยายามสร้างความเชื่อมโยงกับไต้หวันโดยตรง การที่ไต้หวันกลับสู่แผ่นดินใหญ่ไม่จำกัดเวลาอาจจะเป็น 10, 20 หรือ 30 ปีนับจากนี้ และไต้หวันเองนั้นแท้จริงแล้วก็ไม่ได้ต้องการจะแยกตนเองเป็นอิสระเหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว

สำหรับการเมืองภายในจีนเองนั้น ประธานาธิบดีหู เคยอยากให้รองนายกรัฐมนตรี หลี่เค่อเชียง จากสมาพันธ์ยุวชนคอมมิวนิสต์เป็นทายาทของตน แต่หูก็ยอมรับการขึ้นมาของ รองประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ในอนาคตทั้งนี้เพราะระดับนำจีนให้การสนับสนุน อันแสดงถึงความคิดแบบสัมฤทธิผลนิยมของหู และจากนี้ไปจะไม่เห็นผู้นำจีนที่มีความเข้มแข็งเด็ดขาดอย่าง เหมาเจ๋อตง หรือ เติ้งเสี่ยวผิง อีกต่อไปแล้ว เรื่องต่อจากนี้เป็นเรื่องของระบบมากกว่าตัวบุคคล
8. การทะยานขึ้นของจีน

ถ้ามองจากมุมเศรษฐกิจจีนถือว่าทะยานขึ้นมาเป็นอันดับสามแล้ว (เมื่อปีที่บันทึก ปัจจุบันเป็นอันดับสอง กองบก.) แต่จีนจะไม่ยอมทำผิดพลาดซ้ำรอยกับ ญี่ปุ่นและเยอรมนี โดยจะไม่ท้าทายทางการทหารกับสหรัฐอเมริกาโดยตรง จีนมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงและคึกคักใน ละตินอเมริกา, อาฟริกา และในตะวันออกกลาง แม้แต่การเจรจาใดๆที่เกิดขึ้นในประเทศภูมิภาคอาเซียน ข้อมูลการเจรจานั้นจะเป็นที่รับทราบกันในกรุงปักกิ่งเพียงในเวลาไม่กี่ชั่วโมง นี่ยังไม่นับว่าจีนมีความเชื่อมโยงอันแนบแน่นกับ ลาว กัมพูชา และพม่า

กำลังทางทหารของจีนยังไม่อาจเทียบกับสหรัฐอเมริกาได้ แต่จีนก็เร่งรีบพัฒนาขีดความสามารถทางทหารของตนเองอย่างต่อเนื่อง และจีนก็เข้าใจดีกว่าศักยภาพการเติบโตด้านเศรษฐกิจของตนเองผูกกับการนำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลังงาน, วัตถุดิบ และอาหาร นี่จึงเป็นสาเหตุที่จีนพยายามร่วมมือกับอาฟริกาใต้เพื่อสร้างกองทุนพัฒนาจีน-อาฟริกาขึ้น จีนยังต้องการควบคุมเส้นทางการส่งบำรุงทางทะเล จีนยังเป็นกังวลกับเสถียรภาพในช่องแคบมะละกา นี่จึงเป็นสาเหตุที่จีนพยายามพัฒนาเส้นทางท่อก๊าซและน้ำมันผ่านเส้นทางพม่า

9. ข้อเสนอแนะ
สหรัฐอเมริกาควรหาทางพัฒนาหลักสูตรชั้นเยี่ยมเพื่อรองรับนักศึกษาจากจีน เพราะคนรุ่นใหม่ของจีนที่มีความสามารถและปราดเปรื่องล้วนต้องการศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะควรพิจารณาหลักสูตรอย่างเช่นโครงการการศึกษาและฝึกอบรมกองทัพนานาชาติในประเทศจีน ข้อได้เปรียบของสหรัฐอเมริกาคือการดึงตัวผู้มีศักยภาพสูงล้นมาจากทั่วทุกมุมโลก และในอนาคตผู้นำจีนจะจบ PhD และ MBA จากมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่




 อ้างอิง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น